สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 15-21 มิ.ย. 61



ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
 
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่
- โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี
- โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่)
- โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่
- โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
- โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
- โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี
- โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560

1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,874 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,844 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,981 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,035 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,190 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,610 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.33
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,185 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,419 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,240 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39,457 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,038 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 414 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,423 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,905 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.26 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 482 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,098 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 424 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,492 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.72 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 394 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,520 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,714 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 194 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4215
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2561/62 ประจำเดือนมิถุนายน 2561 ว่าจะมีผลผลิต 489.500 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 488.313 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.24 จาก
ปี 2560/61
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2561/62 ณ เดือนมิถุนายน 2561 ว่าผลผลิต ปี 2561/62 จะมี 489.500 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2560/61 ร้อยละ 0.24 การใช้ในประเทศจะมี 488.630 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.55 การส่งออก/นำเข้าจะมี 49.506 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.73 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 144.684 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กัมพูชา จีน กายานา อินเดีย ปารากวัย รัสเซีย ไทย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล และอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ อียู กินี  อิหร่าน อิรัก เคนย่า มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล และสหรัฐอาหรับเอมิเรส ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ กานา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
 
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          กัมพูชา
          สำนักงานบริการด้านการส่งออกข้าวของกัมพูชา (Secretariat of One Window Service for Rice Export Formality; SOWS-REF) รายงานปริมาณส่งออกข้าวในเดือนพฤษภาคม 2561 มีปริมาณ 42,865 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.28 เมื่อเทียบกับจำนวน 36,239 ตัน ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ลดลงร้อยละ 5.26 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2560 ที่มีการส่งออกจำนวน 45,243 ตัน โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2561 (มกราคม-พฤษภาคม) กัมพูชาส่งออกข้าวรวม 240,219 ตัน ลดลงร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับจำนวน 257,637 ตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2560
          ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2561 กัมพูชาส่งออกข้าวหอมเกรด Premium (Premium Fragrant Rice) เช่น Phka Rumduol/Malis จำนวน 118,418 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560) ข้าวหอมชนิดอื่นๆ (Fragrant Rice) จำนวน 56,375 ตัน (ลดลงร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560) ข้าวขาวเมล็ดยาว (Long Grain White Rice) จำนวน 50,733 ตัน (ลดลงร้อยละ 45.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560) และข้าวนึ่งเมล็ดยาว (Long Grain Parboiled Rice) จำนวน 14,693 ตัน (ลดลงร้อยละ 49.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560) โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา กัมพูชาส่งออกข้าวหอมเกรด Premium จำนวน 224,552 ตัน ข้าวหอมชนิดอื่นๆ จำนวน 169,475 ตัน ข้าวขาว จำนวน 156,654 ตัน และข้าวนึ่ง จำนวน 84,998 ตัน โดยส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมากเป็นอันดับ 1 จำนวนประมาณ 61,578 ตัน (ลดลงร้อยละ 30.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559) รองลงมาคือ ประเทศฝรั่งเศส 33,077 ตัน (ลดลงร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559) มาเลเซีย 17,120 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 149.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559) โปแลนด์ 13,194 ตัน (ลดลงร้อยละ 42.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559) เนเธอร์แลนด์ 11,490 ตัน (ลดลงร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559) สหราชอาณาจักร 9,232 ตัน (ลดลงร้อยละ 55.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559) เป็นต้น
          ทั้งนี้ ในปี 2560 กัมพูชาส่งออกข้าวปริมาณรวม 635,679 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับจำนวน 542,144 ตัน ในปี 2559 ซึ่งถือเป็นสถิติส่งออกข้าวสูงสุดของกัมพูชา โดยส่งไปยังประเทศจีนมากเป็นอันดับหนึ่งที่ ปริมาณ 199,857 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.8 เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีปริมาณ 127,460 ตัน อันดับที่ 2 คือฝรั่งเศส ปริมาณ 77,363 ตัน ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีปริมาณ 78,329 ตัน อันดับที่ 3 คือ โปแลนด์ ปริมาณ 44,023 ตัน ลดลงร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีปริมาณ 64,035 ตัน อันดับที่ 4 คือ มาเลเซีย ปริมาณ 38,360 ตัน ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีปริมาณ 38,877 ตัน อันดับที่ 5 คือ เนเธอร์แลนด์ปริมาณ 27,175 ตัน ลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีปริมาณ 28,690 ตัน อันดับที่ 6 คือ สหราชอาณาจักร ปริมาณ 26,775 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.5 เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีปริมาณ 17,673 ตัน
          Amru Rice บริษัทผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของกัมพูชา ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายข้าวกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ออร์แกนิคในจังหวัดพระวิหารกว่า 4,000 ราย โดยบริษัทได้ทําสัญญาตกลงจะซื้อข้าวจากเกษตรกร จํานวน 30,000 ตัน ที่มูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมกันนี้บริษัทได้ลงนามในสัญญารับซื้อมันสําปะหลังแห่งจากเกษตรกรในจังหวัดดังกล่าว รวมปริมาณ 10,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          นาย Song Saran ประธานกรรมการบริหารบริษัท Amru Rice กล่าวว่า บริษัทได้ทําสัญญารับซื้อข้าวออร์แกนิคจากเกษตรกรในจังหวัดพระวิหารมาอย่างต่อเนื่องโดยปีนี้เป็นปีที่ 5 สําหรับมันสําปะหลังแห่งเพิ่งเริ่มทําสัญญารับซื้อปีนี้เป็น
ปีแรก โดยคาดว่าจะมีผลผลิตออกสู้ตลาดช่วงต้นปีหน้า ทั้งนี้ นาย Song Saran กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทจะดําเนินการทําสัญญารับซื้อข้าวออร์แกนิคจากเกษตรกรในจังหวัดพระวิหารอย่างต่อเนื่อง โดยจะรับซื้อในราคาสูงกว่าราคาตลาดทั่วไป และจะสนับสนุนให้เกษตรกรในจังหวัดหันมาทําการเกษตรแบบออร์แกนิค ซึ่งจะทําให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาที่สูงขึ้นและส่งผลให้เกษตรกรในจังหวัดมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น สําหรับมันสําปะหลังปริมาณการรับซื้อยังไม่มากนัก เนื่องจากบริษัทต้องการจะทดลองตลาดก่อน หากได้รับการตอบรับที่ดีจะเพิ่มปริมาณการรับซื้อในอนาคต
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
 
          ฟิลิปปินส์
          กรมศุลกากรฟิลิปปินส์เข้าตรวจค้นรถตู้คอนเทนเนอร์ 200 คัน พบว่าภายในมีข้าวไทยที่ถูกลักลอบนำเข้ามา 100,000 กระสอบ และคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 250 ล้านเปโซ โดยสถานที่ปลายทางที่นำข้าวไปส่งมอบคือ บริษัท ซานต้าโรซ่าผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด (Sta. Rosa Farm Products Corp.)
          จากการตรวจสอบปรากฏว่า การขนส่งข้าวไทยในครั้งนี้ไม่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารแห่งชาติฟิลิปปินส์ (National Food Authority: NFA) รวมถึงมิได้มีการชำระภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าด้วย สำหรับข้าวที่ยึดมาได้
จะถูกนำออกประมูลภายใน 5-10 วันทำการ
          นอกจากนี้ กรมศุลกากรยังได้ทำลายสินค้าประเภทอื่นๆ ที่ลักลอบนำเข้าและไม่เสียภาษี เช่น บุหรี่ปลอม อุปกรณ์สำนักงาน เสื้อผ้า และรองเท้าฯลฯ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 22 ล้านเปโซ
          ทั้งนี้ ระบบการค้าข้าวของรัฐบาลฟิลิปปินส์จะมีองค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority: NFA)
กำกับดูแลระบบการค้าข้าว ตั้งแต่การให้ใบอนุญาตร้านค้าปลีกที่ขายข้าวสาร การให้ใบอนุญาตนำเข้าข้าว การนำเข้าข้าวแบบ G to P ดังนั้น จึงควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการไทยเจรจาธุรกิจกับผู้นำเข้าที่มีใบอนุญาตจาก NFA ด้วย
         
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

 
ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

สมุดข้าวโลก มิถุนายน 2561

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.80 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.46
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ10.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.41 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.18 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 332.67 ดอลลาร์สหรัฐ (10,786 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 339.60 ดอลลาร์สหรัฐ (10,806 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.04 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 20.00 บาท
 
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ 
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2561/62 ว่ามี 1,090.42 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,069.97 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 1.91 โดยจีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อียิปต์ เวียดนาม แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย และอาร์เจนตินา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 155.58 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 150.29 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 3.52 โดยบราซิล อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย แอฟริกาใต้ แคนาดา เม็กซิโก และเซอร์เบีย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก เวียดนาม อียิปต์ อิหร่าน โคลัมเบีย แอลจีเรีย จีน ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย เปรู โมรอกโค และตุรกี มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 356.40 เซนต์ (4,609 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 372.24 เซนต์ (4,728 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.26 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 119.00 บาท

 



มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64, 10.69 และ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.13 ล้านตัน (ร้อยละ 4.15 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – พฤษภาคม 2561) ปริมาณ 23.78 ล้านตัน (ร้อยละ 87.31 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์สูง ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์สูงด้วยเช่นกัน
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.47 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.53 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.37   
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.81 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.84 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.51    
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.22 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 16.19 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.22   
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 238 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,716 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 143 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 525 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 17,021 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 316 บาท

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
 
 


อ้อยและน้ำตาล 

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ

ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและ     การผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 จนถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 134.93 ล้านตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 14.68 ล้านตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 10.69 ล้านตัน และน้ำตาลทรายขาว 3.99 ล้านตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.48 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 108.79 กก.ต่อตันอ้อย        

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ

รายงานการนำเข้าน้ำตาลของสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรป (EU) รายงานว่าอนุญาตให้นำเข้าน้ำตาลจากประเทศต่างๆตามข้อตกลง EPA / EBA ประจำสัปดาห์ ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2561 จำนวน 342 ตัน (tel quel) ลดลงจาก 27,004 ตัน ในสัปดาห์ก่อน รวมปริมาณน้ำตาลที่อนุญาตให้นำเข้าในปี 2560/2561 (ตุลาคม-กันยายน) มีจำนวน 417,084 ตัน ลดลงจาก 982,191 ตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยนำเข้าจาก มอริเชียส 127,325 ตัน เบลีซ 118,557 ตัน และฟิจิ 68,510 ตัน

 


ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.80 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา        
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาถั่วเหลืองลดลงมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา  ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนของภาษีศุลกากร เนื่องจาก ความตึงเครียดด้านการค้าทวีความรุนแรงมากขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 894.52 เซนต์ (10.80บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 948 เซนต์ (11.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.64
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 334.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.10บาท/กก.)  ลดลงจากตันละ 350.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.31 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.53
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 29.30 เซนต์ (21.21บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 30.27 เซนต์ (21.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.20

 


ยางพารา
 
 

 
สับปะรด
     

 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท     
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน   
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 831.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.96บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 846.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.79 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 707.80 ดอลลาร์สหรัฐ (22.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 720.60 ดอลลาร์สหรัฐ (22.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.78 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 521.60 ดอลลาร์สหรัฐ (16.91 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 530.80 ดอลลาร์สหรัฐ (16.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.73 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 366.40 ดอลลาร์สหรัฐ (11.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 372.80 ดอลลาร์สหรัฐ (11.86 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 732.60 ดอลลาร์สหรัฐ (23.75 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 745.80 ดอลลาร์สหรัฐ (23.73 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 


ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.00 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.77
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด  สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.00 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 25.00
 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
 


ฝ้าย
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้

ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 85.56 เซนต์ (กิโลกรัมละ 61.95 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 94.46 เซนต์ (กิโลกรัมละ 67.19 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.42 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 5.24 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,650 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,275 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา      
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,141 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
         ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
         สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  56.62  บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.96  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 55.95 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 52.79 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 57.84 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 57.83 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 58 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
         ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
          ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนทำให้มีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติออกสู่ตลาดมาก ส่งผลให้ความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย   แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.07 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.13  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.27 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.03 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
          ภาวะตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคไข่ไก่  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  278 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 276 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ  18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
        ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 327 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 325  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 327 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 347 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
         ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
         ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.65  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.15 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.16 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ  92.90 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
         ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 71.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.79 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา​ 
 


 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต           
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 15 – 21 มิถุนายน 2561) ไม่มีรายงานปริมาณ
จากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.27 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.96 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 137.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.33 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ  140.00 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 136.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.33 บาท    ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.85 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 179.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.55 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15 – 21 มิ.ย. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา